จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คำสั่ง DOS ลืมกันหรือยัง?




เรื่องเล่าประสบการณ์ในบทความฉบับนี้ เกิดขึ้นจากการเรียนเมื่อสัปดาห์ผ่านมา อาจารย์ของผมจัดเวิร์คช็อปให้ทางนักศึกษาลองจำลองระบบปฏิบัติการ Server และติดตั้ง Apache, PHPMyAdmin และจำลอง Host เพื่อใช้งาน WebServer โดยใช้คำสั่ง DOS (งานเข้าแล้วครับ) ซึ่งผมเองนั้นลืมไปซะแล้ว (มัวแต่ติดตั้งด้วยวิธีปกติ) ผมจึงขอทบทวนความเป็นมาและชุดคำสั่งต่างๆ ของ DOS อีกซักครั้งนะครับ เราลองมาดูกันเลยนะครับ
คำสั่งความจำเป็นในการใช้ (DOS) ยังคงมีอยู่ แม้ว่าในปัจจุบันบทบาทของมันจะเริ่มลดลงไปมากหลังจาก Windows เริ่มมีความสมบูรณ์และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ชนิดที่ไม่ต้องพึ่ง DOS เลยก็ว่าได้ (ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมบางคนถึงลืมได้) แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เครื่องของคุณเข้าไปใช้งาน Windows ไม่ได้ คำสั่งดอสก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการใช้คำสั่งดอสจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้เช่นการ การซ่อมแซมไฟล์ที่เสีย ก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูล แก้ปัญหา Bad Sector ฯลฯ ดังนี้เราควรทราบคำสั่งบางคำสั่งที่จำเป็นไว้บ้างเพื่อนำไปใช้งานในยามฉุกเฉิน
ตัวอย่างคำสั่ง DOS

Dos ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรกๆ ซึ่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฏิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่านบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่นิยมใช้กันคือ MS-Dos ซึ่งต่อมาระบบปฏิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows ลองมาดูกันว่าคำสั่งไหนบ้างที่เราควรรู้จักวิธีใช้งาน
คำสั่ง
คำอธิบาย
รูปแบบคำสั่ง
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
CD (Change Directory)
คำสั่งเข้า-ออก ในไดเร็คทอรี่
CD [drive :] [path]

CD\
กลับไปที่ Root ระดับสูงสุด เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\Program flies\adobe> หลังจากใช้คำสั่งนี้ก็จะย้อนกลับไปที่ C:\ >
CD..
กลับไปหนึ่งไดเร็คทอรี เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\Program flies\adobe > หลังจากนั้น ใช้คำสั่งนี้ก็จะก็จะย้อนกลับไปที่  C:\Programflies\adobe >
CHKDSK (CHECK DISK)
คำสั่งตรวจเช็คพื้นที่ดิสก์

CHKDSK [drive:][[path]filename] [/F] [/V]
C:\WINDOWS>CHKDSK D: ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานดิสก์ในไดรว์ D
C:\>CHKDSK C: /F ตรวจสอบ ไดรว์ C พร้อมกับซ่อมแซมถ้าตรวจเจอปัญหา
COPY
คำสั่งคัดลอกไฟล์
COPY [Source] [Destination]
C:\COPY A:README.TXT คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ A ไปยังไดรว์ C
C:\INFO\COPY A:*.* คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C
DIR
คำสั่งแสดงไฟล์และไดเร็คทอรีย่อย
DIR /P /W
/P แสดงผลทีละหน้า
/W แสดงในแนวนอนของจอภาพ
C:\>DIR ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C
C:\>INFO\DIR /P ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีย่อยในไดเร็คทอรี INFO โดยแสดงทีละหน้า
DEL 
(DELETE)
 คำสั่งลบไฟล์
DEL [ชื่อไฟล์ที่ต้องการลบ]
C:\>DEL BOS.VSD ลบไฟล์ในไดรว์ C ที่ชื่อ BOS.VSD
D:\>DEL *.TXT ลบทุกไฟล์ที่มีนามสกุล TXT ในไดรว์ D
FDISK
( Fixed Disk)
FDISK /STATUS
A:>\FDISK เริ่มใช้งานโปรแกรม
A:\>FDISK /STATUS แสดงข้อมุลเกี่ยวกับพาร์ติชันบนฮาร์ดดิสก์
FORMAT
คำสั่งฟอร์แมตเครื่อง
FORMAT drive: [/switches]
A:\>FORMAT C: /S ฟอร์แมตไดรว์ C แล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์ด้วย
C:\>FORMAT A: /Q ฟอร์แมตไดรว์ A แบบ Quick Format
MD (Make Directory)
คำสั่งสร้างไดเร็คทอรี
MD [drive:] path
D:\> MD TEST สร้างไดเร็คทอรี TEST ขึ้นมาในไดรว์ D
D:\>DOC\MD TEST สร้างไดเร็คทอรีที่ชื่อ TEST ขึ้นมาภายในไดเร็คทอรี DOC
REN (RENAME)
คำสั่งเปลี่ยนชื่อไฟล์
REN [ชื่อไฟล์เดิม [ชื่อไฟล์ใหม่]
C:\REN BOS.DOC ANN.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดรว์ C เป็น ANN.DOC
C:\REN C:\MAYA\BOS.DOC PEE.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดเร็คทอรี MAYA ให้เป็น PEE.DOC
SCANDISK
คำสั่งตรวจสอบพื่นที่ฮาร์ดดิสก์
SCANDISK [Drive:]/AUTOFIX
/AUTOFIX ให้แก้ไขปัญหาโดยอัตโนมัติ
A:\>SCANDISK C: ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ C
A:\>SCANDISK D:/AUTOFIX ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ D และแก้ไขอัตโนมัติ
Type
คำสั่งดูข้อมูลในไฟล์
TYPE [ชื่อไฟล์ที่ต้องการอ่าน]
C:\>Type AUTOEXEC.BAT แสดงเนื้อหาภายในไฟล์ AUTOEXEC.BAT
C:\>NORTON\TYPE README.TXT แสดงเนื้อหาภายในไฟล์ README.TXT ในไดเร็คทอรี NORTON
XCOPY
คำสั่งคัดลอกทั้งไดเร็คทอรีและทั้งหมดในไดเร็คทอรี
XCOPY [ต้นทาง] [ปลายทาง] /S /E
C:\>XCOPY BACKUP F: /S /E คัดลอกทุกไฟล์และทุกไดเร็คทอรีย่อย BACKUP ไปไว้ในไดรว์ F
C:\>PRINCE>XCOPY *.VSD A: คัดลอกทุกไฟล์ที่มีนามสกุล VSD ในไดเร็คทอรี PRINCE ไปที่ไดรว์ A
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง DIR
ซึ่งคำสั่งบางอย่าง เราอาจจะได้ใช้งานกันบ่อย อย่างเช่น CD , DIR เป็นต้นเราควรเรียนรู้ไว้บ้างก็ดีนะครับ เผื่ออาจจะต้องได้ใช้งาน และขอจบเนื้อหาสำหรับบทความฉบับนี้ก่อนนะครับ ในฉบับต่อไป ผมจะนำข้อความที่เกี่ยวกับการแจ้งเตือน แจ้งปัญหาต่างๆ ภายใน DOS และ Command Line มาเล่าสู่กันฟังนะครับ


อ้างอิงจาก
http://tapnn.blogspot.com/2012/01/blog-post_6401.html&docid=AClzerm4-ywwxM&imgurl=http://3.bp.blogspot.com/-


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น