เนื่องจากบทความฉบับที่แล้ว ผมได้กล่าวถึงคำสั่งต่างๆ ของ DOS ซึ่งหลายๆ คนอาจจะลืมไปแล้ว(รวมถึงผมด้วย) ผมจึงขอรีวิวส่วนของข้อความแจ้งปัญหาใน DOS เพื่อใช้ในการตรวจสอบโปรแกรมต่างๆ เริ่มกันเลยนะครับ
ในการทำงานบนดอสบางครั้งก็เกิดปัญหาได้บ่อยๆ
เหมือนกันนะครับ ซึ่งการเกิดปัญหาแต่ละครั้งก็จะมีข้อความแจ้งให้ทราบ ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น
มีสาเหตุจากอะไร ต่อไปนี้เป็นข้อความแจ้งปัญหาที่มักพบได้บ่อยๆ เช่น
Abort,
Retry, Fail ?
จะพบได้ในกรณีที่ไดร์ฟไม่มีแผ่นดิสก์อยู่แล้วเรียกใช้ข้อมูลจากไดร์ฟนั้น
การแก้ไขก็นำแผ่นดิสก์ที่ต้องการใช้มาใส่เข้าไป
กดปุ่ม < R
> (Retry) : การทำงานจะทำต่อจากงานที่ค้างอยู่ก่อนเกิดความผิดพลาด
กดปุ่ม < A
> (Abort) : รอรับคำสั่งจะไปอยู่ในไดร์ฟที่สั่งงานล่าสุด
กดปุ่ม < F
> (Fail) : เมื่อต้องการยกเลิกการทำงาน และเปลี่ยนไดร์ฟใหม่
Bad Command or file name : ใช้คำสั่งผิดหรือไฟล์ที่เรียกใช้งานนั้นไม่สามารถเรียกใช้ได้ การแก้ไข ตรวจสอบบรรทัดคำสั่งว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น
พิมพ์คำสั่งหรือชื่อไฟล์ถูกต้องหรือไม่ แล้วลองรันคำสั่งดูใหม่อีกครั้ง อาจเกี่ยวข้องกับเวอร์ชันของดอสไม่มีคำสั่งนั้นก็ได้
File not found : ไม่สามารถหาไฟล์นั้นพบ
อาจไม่มีไฟล์นั้น หรืออาจพิมพ์ชื่อไฟล์นั้นผิดจากที่ต้องการ
นอกจากนี้อาจเกิดจากพาธ (Path) ที่สั่งงานไม่มีไฟล์นั้น
Insufficient memory หรือ Out of memory
Insufficient memory : หน่วยความจำไม่พอต่อความต้องการของโปรแกรม
Out of memory : โปรแกรมเริ่มทำงานไปแล้วบางส่วนแล้วหน่วยความจำไม่พอ
ระบบจึงต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ
Directory already exits : เกิดขึ้นเมื่อสร้างไดเร็คทอรีแล้วไปซ้ำกับซื่อที่มีอยู่แล้วในพาธเดียวกัน
Duplicate file ot file not found : ถ้าเปลี่ยนชื่อไฟล์ไปซ้ำกับชื่อที่มีอยู่จะทำไม่ได้และจะแจ้งเตือนดังข้อความดังกล่าว
InSufficient Disk space : ข้อความนี้จะเกิดขึ้นเมื่อดิสก์ไม่เพียงพอต่อการเก็บ
ข้อมูล วิธีแก้ ลองใช้ดิสก์อื่นหรือลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ออก
IPCONFIG
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบค่า IP address ของเครื่อง รวมถึงค่า subnet
mask,DNS Server ที่ใช้งาน Default Gateway ด้วย
PING
เป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบการเชื่อมต่อและความคับคั่งของเครือข่าย
โดยคำสั่งจะส่งข้อมูลเล็กๆไปยังปลายทางที่ระบุ
ถ้าตัวเลขมากแสดงว่าเครือข่ายมีความคับคั่งสูง(ข้อมูลเดินทางได้ช้า)
TRACERT
ย่อมาจากคำว่า traceroute
ซึ่งเป็นคำสั่งบน UNIX โดยไมโครซอฟนำมาเปลี่ยนชื่อเพื่อไม่ให้ยาวเกิน
8 ตัวอักษร (เป็นข้อจำกัดของDos) คำสั่งนี้จะใช้ในการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งจากต้นทาง
ไปยังปลายทางนั้นผ่านเราเตอร์(Router)ตัวใดบ้าง
การใช้งานเช่น
-
tracert citecclub.org
-
tracert 61.19.248.246
TELNET
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการรีโมตไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์และ
ได้ Shell Command เพื่อใช้ในการเข้าถึงตามสิทธิ์ที่ผู้ดูแลระบบได้กำหนดไว้
จะต้องใส่ Username และ Password ให้ถูกต้อง
นอกจากนั้น telnet ยังเป็นคำสั่งที่ใช้ในการเชื่อมต่อ TCP/IP
กับ Port หมายเลขที่ระบุได้ เช่น telnet
citecclub.org 80 เพื่อตรวจสอบเวอชั่นของ Web Server
FTP
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่องลูกข่ายและเครื่องแม่ข่าย (Server) โดยส่วนมากจะเรียกใช้คำสั่ง ftp บนเครื่องลูกข่ายแล้วทำการคอนเน็กไปยังเครื่อง server ที่เปิดบริการ ftp server จากนั้นก็ทำการส่งถ่ายข้อมูลต่างๆเช่น
เพื่อทำการคัดลอกไฟล์ข้อมูลที่อยู่บนเครื่องserver มาเก็บไว้บนเครื่องลูก
(เรียกว่าftp download) หรือการใช้คำสั่ง put เพื่อคัดลอกไฟล์ที่อยู่บนเครื่องลูกไปไว้บนเครื่องserver (เรียกว่า ftp upload)
TFTP
เป็นกระบวนการรับส่งไฟล์ที่เรียบง่ายกว่า FTP ทั่วไป โดยใช้กลไกการสื่อสารแบบ UDP (
User Datagram Protocal ) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ทำงานแบบ Connectionless
ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่รหัสหรือ Password แต่จะทำได้เพียงโอนข้อมูลที่จัดเตรียมไว้แล้วเท่านั้น
แต่จะไม่มีฟังก์ชันอื่น ๆ เช่น การแสดงรายชื่อไฟล์ การเปลี่ยนไดเร็คทอรี
SUBST
ใช้เพื่อการทำ Map
Drive ใช้คำสั่ง subst แล้วตามด้วยชื่อ Directory
ที่ต้องการแมป แล้วตมด้วยอักษรเพื่อระบุ Drive ปละเครื่องหมายโคลอน
เช่น
- subst H: C:\Game\CnC-ZH
หรือว่าจะเข้าไปในdirectoryก่อน
เช่น
- c:\Game>subst H: CnC-ZH
การยกเลิก
subst ตามด้วยแมปไดร์แล้วใส่พารามิเตอร์ /D
เช่น
- subst H: /D
NSLOOKUP
ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับ DNS เช่น ตรวจสอบการแปลงจาก Domain Name ไปเป็น IP address เป็นต้น
การใช้งานคือการพิมพ์คำว่า nslookup แล้วกด Enter
Unhidden
พารามิเตอร์ที่ใช้บ่อยได้แก่
SET
TYPE=MX เพื่อใช้ในการตรวจหาชื่อโดเมนของเครื่องที่ทำหน้าที่ เป็นmail
server สำหรับโดเมนนั้น
การใช้งานพิมพ์คำว่า
set
type=MX กด Enter แล้วตามด้วยโดเมนเนม
เช่น
-
C:\>nslookup ------->Enter
Default
server: XXXXXXXXXX
Address:
xxx.xxx.xxx.xxx
>set
type=mx ------------->Enter
>
ชื่อโดเมน
-------------------------------------------------
SET
TYPE=A ใช้เพื่อตรวจหาค่าIP Address สำหรับชื่อโดเมนเนมที่เราระบุการใช้งาน
เช่น พิมพ์ว่า set type=a กด Enter แล้วพิมพ์ชื่อโดเมนเนมที่ต้องการตรวจสอบ
แล้วกดEnter โปรแกรมก็จะรายงานผลออกมา ถ้าพิมพ์IP
Address ลงไป โปรแกรมจะทำการแปลง IP เป็นโดเมนแทน
Exit
ใช้ในการออกโปรแกรม
ROUTE
ใช้เพื่อตรวจสอบและคอนฟิกค่าในตารางเราเตอร์ (Router Table)Unhidden
พารามิเตอร์ที่มักจะใช้บ่อยๆคือ
ROUTE
PRINT เพื่อแสดงค่าในตารางเราต์
ROUTE
ADD เพื่อเพิ่มค่าเข้าไปในตารางเราต์ เช่น route add
200.100.23.0 mask
255.255.255.0 200.100.22.254 เพื่อเป็นการบอกว่า ถ้าได้รับ Packet
ที่ต้องการไปยังเน็ตเวิก 200.100.23.0/24
ให้วิ่งผ่านไปยังเส้นทาง 100.22.22.254
ROUTE
DELETE เพื่อลบค่าในตารางเราต์ เช่น route delete
200.100.23.0 mask 255.255.255.0 เป็นต้น
ROUTE
-P ADD เพื่อเพิ่มค่าเข้าไปในตารางเราต์อย่างถาวร
คือเมื่อทำการรีสตาร์ทใหม่ค่าตารางเราต์ที่เพิ่มด้วย พารามิเตอร์- pจะไม่หายไป (ตารางเราต์ที่เพิ่มเข้าไปใหม่ด้วยวิธีปก
ติจะหายไปถ้าทำการรีสตาร์ทเครื่องใหม่) วิธีใช้งาน อย่างเช่น route - 200.100.23.0 mask 255.255.255.0 200.100.20.1
NETSTAT
เป็นคำสั่งที่ไว้ตรวจสอบว่ากำลังเชื่อมต่อ TCP,UTP อยู่กับใครกับเครื่องใดบ้างและเครื่องใดกำลัง
listen อยู่ พารามิเตอร์ที่ใช้บ่อยได้แก่
NETSTAT
-A แสดงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น TCP,UTP สถานะ listen
สถานะ Establish และอื่นๆ
NETSTST
-N แสดงเป็นตัวเลข โดยไม่ต้องทำการค้นหาชื่อโดเมนของ IP และชื่อประจำหมายเลขของเซอร์วิส
NETSTAT
-parameter | STRFIND string เพื่อใช้ค้นหาคำที่อยู่ในตารางผลลัพธ์
เช่น netstat -na | findstr 80 เพื่อใช้ในการตรวจสอบเกี่ยวกับเซอร์วิสของ
Web Server
คำสั่งบางอย่าง เราควรตรวจสอบความถูกต้องด้วยนะครับ แต่ถ้าเราฝึกฝน ใช้งานบ่อยๆ ผมคิดว่า ทุกท่านจะเก่งขึ้นอย่างแน่นอนครับ