หลังจากห่างหายการเขียนบทความไปนาน เกือบ 3 อาทิตย์ เนื่องจากตัวเจ้าของบล็อกกำลังเร่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบข้อสอบ อัตโนมัติโดยใช้ GA ผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งยากพอสมควร มาในบทความนี้ผมเลย อยากจะแชร์ประสบการณ์การเริ่มต้นเขียนพัฒนาโปแกรมด้วย Eclipse ว่า มีหลักการใช้งาน และมีการทำงานอย่างไรบ้าง เรามาเริ่มกันเลยนะครับ
ก่อนอื่นผมจะขอแนะนำ Eclipse ก่อนน่ะครับ
Eclipse คือ IDE (Integrated Development Environment) หรือ Editor ตัวหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมในการใช้พัฒนาโปรแกรม Eclipse สนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมในหลายภาษา มี GUI ที่ดูและเข้าใจง่าย นอกจากนี้ Eclipse ยังสามารถ download plugIn ต่างๆมาใช้งานร่วมกับตัว Eclipse เองด้วย ยกตัวอย่างเช่น การใช้ Eclipse ในการพัฒนาโปรแกรมบน Android ก็จะมีส่วน plugIn ให้ใช้ร่วมกับ Eclipse เลย ที่สำคัญที่สุด Eclipse เป็น Freeware นั่นคือสามารถ download มาใช้กันแบบฟรีๆได้เลยครับ
Eclipse คือ IDE(Integrated Development Environment) หรือ Editorตัวหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมในการใช้พัฒนาโปรแกรม Eclipseสนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมในหลายภาษา มี GUI ที่ดูและเข้าใจง่าย นอกจากนี้ Eclipse ยังสามารถdownload plugIn ต่างๆมาใช้งานร่วมกับตัว Eclipse เองด้วย ยกตัวอย่างเช่น การใช้Eclipse ในการพัฒนาโปรแกรมบน Android ก็จะมีส่วน plugIn ให้ใช้ร่วมกับEclipse เลย ที่สำคัญที่สุด Eclipse เป็น Freeware นั่นคือสามารถ download มาใช้กันแบบฟรีๆได้เลยครับ
หน้าต่างการ ดาวน์โหลด Eclipse
เมื่อกดเข้าโปรแกรมแล้วจะมีหน้าต่าง ขึ้นมาถาม workspace ที่จะให้ Eclipse ใช้พื้นที่ในการทำงาน เหมือนเป็นการ Set default พื้นที่ในการทำงาน เราสามารถกำหนด workspace เองได้แล้วแต่ผู้ใช้งานครับ
หน้าจอหลักของ Eclipse จะแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้ครับ
1.
เป็นส่วนของแถบเมนู และ Tool ต่างๆ
2. เป็นส่วนที่แสดงและจัดการ Project ต่างๆ เหมือนเป็นการ Browse ดู Projectหรือ File ต่างๆ
3. เป็นส่วนที่ใช้ในการเขียน Code
4. เป็นส่วนที่แสดงถึงโครงสร้างหรือส่วนประกอบของ Class เช่น attribute
method และด้านบนสุดเป็นส่วนที่ใช้จัดการกับ plugIn ต่างๆ
5. เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงผลการทำงานต่าง เมื่อทำการ Run โปรแกรม
และยังมีส่วนของการ debug โปรแกรมด้วย
ในการเขียนโปรแกรมโดยใช้ Eclipe นี้ ถือเป็นส่วนเริ่มต้นเท่านั้นนะครับ ยังมีส่วนอื่นๆ ประกอบ(ต้องเรียนรู้หรือศึกษาเพิ่มเติมการเขียนโปรแกรมภาษา JAVA ครับ) บทความฉบับนี้ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ